อ.ก.พ.นโยบายข้าว ตั้งเป้าการผลิตข้าว 65/66 เน้น ข้าว 5 ประเภท 30 ล้านตัน

อ.ก.พ.นโยบายข้าว ตั้งเป้าการผลิตข้าว 65/66 เน้น ข้าว 5 ประเภท 30 ล้านตัน

ผลการประชุม อ.ก.พ. นโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิต เผย เป้าการผลิตภายรอบปี 2565/2566 โดยการผลิต ข้าว 5 ประเภท จำนวน 30 ล้านตัน (19 พ.ค. 2565) นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการ (อ.ก.พ.) นโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิต ครั้งที่ 1 / 2565 โดยมีผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ตัวแทนสมาคมโรงสีข้าวไทย และตัวแทนเกษตรกร เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาเห็นชอบเป้าหมายการผลิต ข้าว และการวางแผนการผลิตข้าว 

ปีการผลิต 2565/2566 และการกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/2566

รมช.ประภัตร เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในได้กำหนดความต้องการใช้ข้าว (Demand) ปี 2565/66 ไว้ที่จำนวน 27.6 ล้านตันข้าวเปลือก ดังนั้น กรมการข้าวจึงได้พิจารณากำหนดเป้าหมายการผลิตข้าว(supply) ปี 2565/66 ไว้ที่จำนวน 30 ล้านตันข้าวเปลือก แยกเป็น

– ข้าวหอมมะลิ 9.1 ล้านตันข้าวเปลือก

– ข้าวหอมปทุมธานี (ข้าวหอมไทย) 1.8 ล้านตันข้าวเปลือก

– ข้าวขาว (ข้าวเจ้า) 12.9 ล้านตันข้าวเปลือก

– ข้าวเหนียว 6 ล้านตันข้าวเปลือก

– ข้าวตลาดเฉพาะ 0.2 ล้านตันข้าวเปลือก

โดยกำหนดเป้าหมายการผลิตข้าวหอมปทุมธานี ข้าวขาว ข้าวเหนียว และข้าวตลาดเฉพาะเท่ากับเป้าหมายความต้องการใช้ข้าว ปี 2565/66 ยกเว้นข้าวหอมมะลิจะกำหนดเป้าหมายการผลิตข้าวมากกว่าความต้องการใช้ข้าวจำนวน 2.3 ล้านตันข้าวเปลือก

สำหรับข้อมูลเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่จะใช้เพาะปลูกปีการผลิต 2565/66 รวมรอบที่ 1 (นาปี) และรอบที่ 2 (นาปรัง) พิจารณาจากข้อมูลเมล็ดพันธุ์ข้าวของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการข้าว ศูนย์ข้าวชุมชน สหกรณ์การเกษตร และสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกชนิดพันธุ์ข้าว

สำหรับนาปี ปี 2565/66 และนาปรัง ปี 2566 นั้น มีเพียงพอกับการเพาะปลูก รวมจำนวน 636,000 ตัน แบ่งการผลิตเป็น 1) กรมการข้าว 95,000 ตัน 2) สหกรณ์การเกษตร30,000 ตัน 3) ศูนย์ข้าวชุมชน 111,000 ตัน และ4) สมาคมผู้รวบรวมและจ าหน่วยเมล็ดพันธุ์ข้าว 400,000 ตัน

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิต 

ยังได้มีมติเห็นชอบแผนการผลิตข้าว ปี2565/66 โดยใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาจากแหล่งต่างๆ และพิจารณาปริมาณน้ำ เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีเพียงพอ ปริมาณสต็อกข้าว ณ ปลายปี 2564 และต้นปี 2565 ถือว่ายังไม่ Over Stock จึงได้วางแผนการผลิตข้าว ปี2565/66 แบ่งเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 และรอบที่ 2 โดยการวางแผนการผลิตข้าวรอบที่ 1 ให้เป็นไปตามความต้องการของชาวนาที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าวได้ปีละ 1 ครั้ง ส่วนการวางแผนการผลิตข้าวรอบที่ 2 เป็นการผลิตข้าวส่วนที่เหลือที่ยังผลิตในรอบที่ 1 ได้ไม่ครบตามเป้าหมายการผลิตข้าว (Supply) ที่กำหนดไว้หากรอบที่ 1 ผลิตเกินแล้ว ก็ต้องปรับลดรอบที่ 2

โดยแผนการผลิตข้าว ปี 2565/66 พื้นที่ 66.2 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30 ล้านตันข้าวเปลือกแยกเป็นรอบที่ 1 พื้นที่ 59.4 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 25.5 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 6.8 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 4.4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยพื้นที่และผลผลิตข้าวรอบที่ 2 สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น สถานการณ์ราคา และภัยธรรมชาติ

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาการกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 แยกเป็นรายชนิดข้าว รายจังหวัด และรายอำเภอสำหรับการประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่ทั้งสิ้น 59. ล้านไร่ ประกอบด้วย ข้าวหอมมะลิ 26 ล้านไร่ข้าวหอมประทุมธานี (ข้าวหอมไทย) 1.8 ล้านไร่ ข้าวขาว (ข้าวเจ้า) 15.5 ล้านไร่ ข้าวเหนียว 15.7 ล้านไร่ ข้าวตลาดเฉพาะ 0.4 ล้านไร่

“ผมได้รับวัคซีนชนิดหนึ่งมาในช่วงแรก ข้อดีของการเข้าโครงการวิจัยก็คือทำให้รู้ว่า ร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันไหม แต่ระหว่างทางของโครงการก็มีกระแสเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนที่ต่างๆ กันไป เราก็เริ่มเครียด วิตกกังวลเล็กน้อย ว่าเราจะได้รับวัคซีนที่ดีจริงหรือเปล่า แต่ส่วนหนึ่งเราก็ปกป้องตัวเองไม่ให้ติดเชื้อด้วย จึงสบายใจขึ้น เมื่อเข้าสู่ระยะการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่สาม ก็เข้าเป็นอาสาสมัครอีก เพราะอยากให้ผลการศึกษาชัดเจนมากขึ้น เมื่อได้รับวัคซีนมา ก็รู้สึกดีใจที่ตัดสินใจอยู่ต่อจนจบโปรเจ็กต์ รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในอาสาสมัครในโครงการนี้

“สุดท้ายต้องขอบคุณความเพียรพยายามของทีมวิจัยที่อดทนต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและความคาดหวังของอาสาสมัคร และจัดการระเบียบงานวิจัยได้อย่างเรียบร้อยดีมาก ขอบคุณที่ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อชาวไทย”

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป