ม.มหิดล ได้ประกาศถึงความเชื่อมั่นใน ‘ศูนย์โด๊ป’ โดยเตรียมพร้อมที่จะพิสูจน์ศักยภาพการดำเนินงาน ภายหลังจากที่ได้รับไฟเขียวจาก WADA นับตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล (ม.มหิดล) หรือ “ศูนย์โด๊ป” หยุดดำเนินการเพื่อปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์กรต่อต้านสารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency) หรือ วาดา (WADA) หลังจากที่ได้ทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานของชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาระดับโลก มานานนับ 2 ทศวรรษ
น้อยคนที่จะทราบว่า “ศูนย์โด๊ป” ไม่เคยหยุดยั้งที่จะพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
จนสามารถยกระดับขึ้นเป็น “สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา” โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีพันธกิจที่ครอบคลุมทั้งในด้านการบริการวิชาการ การวิจัย และการจัดการเรียนการสอน และยังคงมี “ศูนย์โด๊ป” เป็นส่วนงานหลักของสถาบันฯ และในปี 2565 ที่จะถึงนี้ จะเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท “หลักสูตรวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และการตรวจในการกีฬา” ของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นรุ่นแรก เพื่อรองรับปัญหาเร่งด่วนในการขาดแคลนบุคลากรในสาขาดังกล่าว
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา แม้ “ศูนย์โด๊ป” จะหยุดดำเนินการปรับปรุง แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในภาพรวมของสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล แต่อย่างใดเนื่องจากทางสถาบันฯ ได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยการวางระบบการบริหารจัดการที่รองรับความเสี่ยงครอบคลุมในทุกด้าน รวมทั้งงบประมาณสำรองที่เพียงพอจนสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพางบประมาณจากส่วนกลางของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งการที่ WADA ได้อนุมัติให้ “ศูนย์โด๊ป” กลับมาดำเนินการอีกครั้ง จึงพร้อมดำเนินการต่อได้ทันที โดยจะมีภารกิจตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาครั้งสำคัญที่รออยู่ข้างหน้าเพื่อพิสูจน์ศักยภาพในฐานะที่เป็นศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาที่ได้มาตรฐานระดับโลกซึ่งรับรองโดย WADA แห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน คือ การแข่งขันซีเกมส์ 2022 ณ ประเทศเวียดนาม โดยมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมให้ความเชื่อมั่นจะไม่ทำให้ชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนผิดหวังอย่างแน่นอน
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุพรชัย กองพัฒนากูล ผู้อำนวยการ “ศูนย์โด๊ป” กล่าวเพิ่มเติมว่า บทบาทหลักของศูนย์ฯ คือ การตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาให้ได้ตามมาตรฐานของวาดา ในขณะที่รูปแบบของการใช้สารต้องห้ามที่ตรวจพบในนักกีฬาระดับโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้เท่าทัน ซึ่งในการนี้จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ ด้วยประสบการณ์ในการตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาของศูนย์ฯ จึงมั่นใจได้ถึงความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนองค์ความรู้ในการจัดตั้งหลักสูตรระดับปริญญาโท “วิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และการตรวจในการกีฬา” ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2565 นี้
รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุพรชัย กองพัฒนากูล กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “เราได้ก้าวข้ามผ่านสิ่งที่เคยเป็นอุปสรรคต่างๆ มาหมดแล้วจากนี้ต่อไปจะเป็นการพิสูจน์ถึงศักดิ์ศรีของการเป็นศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาที่ได้มาตรฐานระดับโลกที่สามารถทำให้นานาชาติยอมรับได้อีกครั้ง ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเท และการสนับสนุนจากพี่น้องชาวไทย มั่นใจได้ว่า “ศูนย์โด๊ป” จะอยู่ในทิศทางที่สามารถสร้างผลงานและชื่อเสียงให้กับประเทศไทยได้อย่างภาคภูมิต่อไป”
กรณีศึกษา: น้ำท่วมใหญ่ในกรุงจาการ์ตา โดย พีตา เบนคานา (Peta Bencana)
ในเดือนมกราคม 2563 ปริมาณน้ำฝนที่ทำลายสถิติวัดได้ ได้ท่วมกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเหตุเกิดจากการมีน้ำมากเกินกว่าที่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองจะสามารถรองรับได้ ทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรง ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองหลวง ทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายสิบรายและมีผู้พลัดถิ่นฐานหลายพันราย ขณะที่น้ำเพิ่มระดับขึ้นจนปิดการจราจรบนถนน ปิดสนามบินแห่งหนึ่งของเมือง และต้องมีการตัดไฟฟ้า ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองหลายล้านคนไม่หยุดค้นหาและแบ่งปันข้อมูลล่าสุดบนทวิตเตอร์ โดยในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2563 นั้น มีทวีตข้อความเกี่ยวกับน้ำท่วมเฉพาะในกรุงจาการ์ตามากกว่า 20,000 ครั้ง
เพื่อให้ทวีตสาธารณะจากแหล่งคนหมู่มากได้ส่งข้อมูลอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น บริษัท พีตา เบนคานา ได้พัฒนา “บอทเพื่อมนุษยธรรม” หรือ “humanitarian bot” บนทวิตเตอร์ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สที่เรียกว่า CogniCity โดยบอทนี้จะคอยจับทวีตไปสู่แอคเคาท์ @PetaBecana ด้วยการจับคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมและภัยพิบัติต่างๆ (เช่นคำว่า “บันจีร์” ซึ่งแปลว่าน้ำท่วมในภาษาบาฮาซาของอินโดนีเซีย) จากผู้คนทั่วอินโดนีเซีย และทวีตตอบกลับอัตโนมัติด้วยข้อความแนะนำวิธีการแบ่งปันข้อสังเกตของตน และใช้ข้อมูลเหล่านี้เองในการสร้างแผนที่น้ำท่วมขึ้นได้
แผนที่น้ำท่วมที่จัดทำขึ้นโดย พีตา เบนคานา มีคนให้ความสนใจเข้าถึงมากกว่า 259,000 ครั้งในช่วงที่สถานการณ์น้ำท่วมเลวร้ายสูงสุด ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 24,000% ภายในเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ ผู้อยู่อาศัยได้ตรวจสอบแผนที่ เพื่อทำความเข้าใจต่อสถานการณ์น้ำท่วม สามารถหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วม และตัดสินใจเกี่ยวกับความปลอดภัยและการรับมือต่อสถานการณ์ที่กำลังประสบอยู่
สำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินของจาการ์ตา (หรือ BPBD DKI Jakarta) ยังได้คอยตรวจสอบแผนที่ เพื่อช่วยเหลือตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย และประสานงานรับมือเข้าช่วยเหลือตามความรุนแรงและความต้องการฉุกเฉินตามที่ได้รับรายงาน เมื่อน้ำลดและมีความช่วยเหลือที่เข้าถึงได้แล้ว สำนักงานฯ ยังได้อัปเดตข้อมูลล่าสุดอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับย่านต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป